ยินดีตอนรับ

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่3
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555

-อาจารย์ให้นักษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3คน ให้เปลี่ยนกันอ่านความหมายของเพื่อนในกลุ่มที่หามา แล้วนำมาสรุปเป็นนิยามของกลุ่มตัวเอง







กลุ่มของดิฉันสรุปความหมายคณิตศาสตร์ได้ดังนี้
ความหมายของคณิตศาสตร์
      คำว่า คณิตศาสตร์มาจาก 2คำ คือคำว่า คณิต+ศาตร์ คณิตร์คือการนับหรือการคำนาน ส่วนคำว่าศาตร์คือความรู้หรือการศึกษา ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการนับ การคำนวน การประมาณ
อ้างอิงจาก  รองศาตร์ตราจารย์วรรณี โสมประยูร
                อาจารย์เพ็ญจันทร์ 
                

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาตร์
       การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการคิด การนับการคำนวณ และการตัดสินใจ ที่สามารถนำไปใช่ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม
ทษฎีการสอนคณิตศาตร์หรือวิธีการสอนคณิตศาตร์
      ทษฤฎีแห่งการฝึกฝน ทษฤฎีนี้เชื่อว่า เด็กจะเรียนรู้ทางคณิตศาตร์ได้จากการลงมือกระทำซ้ำๆหลายๆครั้ง หรือกระทำบ่อยๆ
      ทษฤฎีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้ดีเมื่อเด็กเกิดความพร้อม
      ทษฤฎีแห่งความหมาย เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดี เมื่อเด็กได้เรียนรู้ต่อสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
      ทษฤฎีเชื่อมโย่ง
      ทษฤฎีเสริมแรง
      ทษฤฎีฝึกสมอง
      ทษฤฎีการสรุป
      ทษฤฎีการหยั่งรู้
      ทษฤฎีการผ่อนคลาย
      ทษฤฎีการสอนแบบธรรมชาติ
ขอบข่ายวิชาคณิตศาสตร์
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ ครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
     จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มบอกความหมายคณิตศาสตร์ตามที่นักษาสรุปเป็นรายกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น