ยินดีตอนรับ

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่5
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555
-การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เด็กเรียนรู้อะไรจากขอบข่ายคณิตศาสตร์
-ให้นักศึกษาจับคู่จากการทำงานอาทิตย์แล้ว แล้วให้ออกไปนำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของแต่ละกลุ่มเรียงไปเรื่อยๆทุกกลุ่ม
  กลุ่ม1 การนับ  นับจำนวนสัตว์ในสวนสัตว์ตามประเภท การนับได้ในเรื่องของตัวเลขจำนวนจำนวนได้ทักษะทางการนับได้จำนวนแล้วเอามาเขียนได้ตัวเลข เอาไว้แทนค่าจำนวน
  กลุ่ม2 ตัวเลข ใช่จำกัดจำนวนแล้วเอามาเขียนแทนค่าหรือจัดเรียงลำดับ
  กลุ่ม3 การจับคู่ การจับคู่สัตว์บกสัตว์น้ำได้ทั้งทักษะทางคณิตและวิทยาศาสตร์ การจับคู่ตัวเลขกับตัวเลขโดยการคัดออกที่ละคู่ๆ จับคู่รูปทรง จับคู่ตัวเลขกับจำนวน และจับคู่จับนวนกับจำนวน
  กลุ่ม4 การจัดประเภท นำสัตว์บกและสัตว์น้ำมารวมกัน แต่ต้องมีเกรณ์ในการจัดว่าสัตว์บกเป็นยังไงใช่หรือไม่อย่างไร
  กลุ่ม5 การเปรียบเทียบ ให้เด็กมาดูว่าสัตว์บกกับไม่ใช่สัตว์บกอันไหนมีมากกว่ากัน
  กลุ่ม6 การจัดลำดับ จัดลำดับสัตว์ที่มจำนวนน้อยสุดไปหาสัตว์ที่มีจำนวนมากสุด โดยใช้ การวัดแล้วเปรียบเทียบ แล้วจัดลำดับแล้วเขียนตัวเลขกำกับ
  กลุ่ม7 รูปทรงและเนื้อที่ หาพื้นที่ของกรงสัตว์ ลานช้าง เป็นรูปทรงอะไร
  กลุ่ม8 การวัด วัดปริมาณอาหาร หรือ ที่อยู่ของสัตว์
  กลุ่ม9 เชต เช่นการจัดกลุ่มเซตของการเลี้ยงนกว่ามีอะไรบ้าง กรง หัวอาหาร น้ำ 
  กลุ่ม10 เศษส่วน สอนเรื่องจำนวนเต็ม สองส่วนเท่าๆกันเรียกว่าครึ่ง
  กลุ่ม11 การทำตามแบบ สอนในเรื่องเซต ให้เด็กจัดเซตแล้วให้เด็กทำตาม
  กลุ่ม12 การอนุรักษ์ให้คงที่ การสอนให้เด็กสัมผัสได้ สอนในเรื่องกึ่งนามธรรม และนามธรรม

เพิ่มเติม

การนำทฤษฎีของเปียเจต์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์

1. การจัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตร  ทฤษฎีของเปียเจต์สามารถนำมาใช้ในการ
จัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัยได้โดยตรง โดยหลักสูตรสำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensory - Motor) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  กิจกรรมที่ควรจัดให้กับเด็กปฐมวัยควรเน้นให้เด็ก
ได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด กิจกรรมที่สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
3. การเลือกวัสดุอุปกรณ์ในทัศนะของเปียเจต์ การที่เด็กได้มีโอกาสสัมผัส ต้องจับต้อง
สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ดิน ทราย น้ำ หิน ฯลฯ เป็นสื่อเบื้องต้นที่จะช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสรับรู้ และการเคลื่อนไหว เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงของวัตถุ เช่น เรื่องน้ำหนัก เนื้อสาร ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงกับโครงสร้างอื่น ๆ ดังนั้นสื่อที่ใช้ประกอบการเรียนในวัยนี้จึงควรให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation) ทั้งนี้เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุดขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88) ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
     1.1 การจับคู่ 1 : 1
     1.2 การจับคู่สิ่งของ
     1.3 การรวมกลุ่ม
     1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
     1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ
(Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดง
ถึงจำนวนปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทาง
คณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ
รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น รูปสิ่งของที่มี
มิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว
10. สถิติและกราฟ  ได้แก่  การศึกษาจากการบันทึก  ทำแผนภูมิ  การเปรียบเทียบต่าง   
นิตยาประพฤติกิจ (2541 : 17 - 19) กล่าวว่า ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะดังต่อไปนี้
1. การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการ
นับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้
เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับคู่
สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ
สิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์
ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น
จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและ
เนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและระยะ
รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย  ๆ จากสิ่งรอบ  ๆ ตัว  มีการเชื่อมโยงกับ
สภาพรวม  เช่น  รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 3 เซต คือ นักเรียน ครูประจำชั้น ครูช่วยสอน เป็นต้น
10. เศษส่วน  (Fraction)  ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบ
หรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไป ครู
อาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่4
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2555
 -วาดภาพแทนสัญลักษณ์แล้วเขียนชื่อวาดเสร็จให้นักศึกษาที่มาเรียนก่อน 08.30 น. นำภาพที่ออกมาเปะที่หน้ากระดานเรียงตามลำดับ

 -อาจารย์อธิบายขอบข่ายวิชาคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ ครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม 
-อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กัน ทำงาน ถ้าจะสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กจะทำอย่างไร โดยให้นักศึกษาดูในขอบข่ายที่อาจารย์สอน

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่3
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2555

-อาจารย์ให้นักษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3คน ให้เปลี่ยนกันอ่านความหมายของเพื่อนในกลุ่มที่หามา แล้วนำมาสรุปเป็นนิยามของกลุ่มตัวเอง







กลุ่มของดิฉันสรุปความหมายคณิตศาสตร์ได้ดังนี้
ความหมายของคณิตศาสตร์
      คำว่า คณิตศาสตร์มาจาก 2คำ คือคำว่า คณิต+ศาตร์ คณิตร์คือการนับหรือการคำนาน ส่วนคำว่าศาตร์คือความรู้หรือการศึกษา ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการนับ การคำนวน การประมาณ
อ้างอิงจาก  รองศาตร์ตราจารย์วรรณี โสมประยูร
                อาจารย์เพ็ญจันทร์ 
                

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาตร์
       การจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการคิด การนับการคำนวณ และการตัดสินใจ ที่สามารถนำไปใช่ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม
ทษฎีการสอนคณิตศาตร์หรือวิธีการสอนคณิตศาตร์
      ทษฤฎีแห่งการฝึกฝน ทษฤฎีนี้เชื่อว่า เด็กจะเรียนรู้ทางคณิตศาตร์ได้จากการลงมือกระทำซ้ำๆหลายๆครั้ง หรือกระทำบ่อยๆ
      ทษฤฎีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ได้ดีเมื่อเด็กเกิดความพร้อม
      ทษฤฎีแห่งความหมาย เชื่อว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ดี เมื่อเด็กได้เรียนรู้ต่อสิ่งที่มีความหมายต่อตนเอง
      ทษฤฎีเชื่อมโย่ง
      ทษฤฎีเสริมแรง
      ทษฤฎีฝึกสมอง
      ทษฤฎีการสรุป
      ทษฤฎีการหยั่งรู้
      ทษฤฎีการผ่อนคลาย
      ทษฤฎีการสอนแบบธรรมชาติ
ขอบข่ายวิชาคณิตศาสตร์
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ ครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
     จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มบอกความหมายคณิตศาสตร์ตามที่นักษาสรุปเป็นรายกลุ่ม

บันทึกเข้าเรียน

ครั้งที่2

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2555
-การจัดหมวดหมู่เป็นเรื่องของคณิตศาสตร์เช่น
    วิธีแบ่งกลุ่ม
    วิธีจับฉลาก
    การนับหนึ่งสองไปเรื่อยๆในการแบ่งกลุ่ม
    แบ่งกลุ่มตามวันเกิด
    เกรณ์ผมสั้น-ผมยาว ต้องกำหนดแค่ไหนเรียกว่ายาวแค่ไหนเรียกว่าสั้น
-ให้บอกสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวว่าอันไหนเป็นคณิตศาตร์ เช่น
    หลอดไฟ>รูปทรงกระบอก
    ประตุหน้าต่าง>รูปร่างรูปทรง
    กระเป๋า>รูปร่าง รูปทรง จำนวน พื้นผิว
-รูปทรงคือสิ่งที่เห็นเป็นมิติ
-การนับจำนวน>ทำให้รู้ค่า>เขียนตัวเลขแทนค่า>ขนาด>เปรียบเทียบ>คำนาน 
-การสอนเด็กให้รู้จักคณิตศาสตร์ต้องมีสื่อที่เป็นมิติจับต้องได้ พอเด็กเข้าใจแล้วจากนั้นเริ่มถอยออกมาใช่ภาพแทนสื่อที่เป็นสามมิติ เด็กอายุ 4-6 ปีเริ่มใช่เหตุผลในการเรียน เริ่มคิดตอบอะไรได้อย่างมีเหตุผล
เช่น น้ำในแก้วทรงสูงและแก้วทรงเตี้ย ถ้าเด็กตอบไม่ถูกแสดงว่าเด็กตอบตามที่ตาเห็น แต่ถ้าเด็กตอบถูกเด็กรู้จักใช่เหตุผลในการคิด
-ตัวเลขคือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่แทนค่าหรือแทนจำนวน
-อาจารย์สั่งงานให้ไปห้องสมุดไปดูหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิชาคณิตศาสตร์จากนั้นให้หา
     ชื่อหนังสือ
     เลขหมู่
     ชื่อผู้เขียน
     จำนวนหน้า
     ปีพ.ศ.
จากนั้นให้นักศึกษาเลือกมาหนึ่งเล่ม แล้วหาความหมาย จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ ทษฎีการสอนหรือวิธีการสอนคณิตศาสตร์ และขอบข่ายเนื้อหาคณิตศาตร์ ให้เขียนลงในกระดาษที่อาจารย์แจกให้ แล้วส่งในสัปดาห์ต่อไป

เพิ่มเติม

 
สมอง เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดจำการคิด และความรู้สึกต่างๆ สมอง ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆนั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของ กระแสไฟฟ้า ใน สมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือ คนที่สามารถใช้ กำลังไฟฟ้า ได้เต็มที่โครงสร้างของสมอง ออกเป็น 3 ส่วน ตามวิวัฒนาการของสมอง

สมอง ส่วนแรก อาร์เบรน (R-brian) หรือ เรปทิเลียนเบรน (Reptilian brain) แปลว่ามาจาก สัตว์เลื้อยคลาน หรือ สมอง สัตว์ชั้นต่ำ ซึ่ง ดร.ไพรบรัม แนะนำว่า เราควรจะเรียก เรปทิเลียนเบรน หรือ สมอง ของ สัตว์เลื้อยคลาน ว่า คอร์เบรน (Core brain) หรือแกนหลัก ของ สมอง คือ สมอง ที่อยู่ที่ แกนสมอง หรือ ก้านสมอง นั่นเอง มีหน้าที่ ขั้นพื้นฐาน ที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทําหน้าที่ เกี่ยวกับ ประสาทสัมผัส และสั่งงานให้ กล้ามเนื้อ มีการเคลื่อนไหว สมอง ส่วนนี้ยังรับ และเก็บข้อมูล เกี่ยวกับ การเรียนรู้ จาก สมอง หรือ ระบบประสาท ส่วนถัดไป และทําให้เกิดเป็น ระบบตอบโต้อัตโนมัติ ขึ้นทําให้เรามี ปฏิกิริยาอย่างง่ายๆ ปราศจาก อารมณ์ ปราศจาก เหตุผล เช่น สัญชาตญาณ การมีชีวิตอยู่เพื่อ ความอยู่รอด ความต้องการอาหาร ที่พักอาศัย

สมอง ส่วนที่สองเรียกว่า ลิมบิกเบรน (Limbic brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) คือ สมอง ของ สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม สมัยเก่า ก็คือ สมอง ส่วน ฮิปโปแคมปัส เทมโพราลโลบ และบางส่วนของ ฟรอนทอลโลบ ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับ ความจำ การเรียนรู้ พฤติกรรม ความสุข อารมณ์ขั้นพื้นฐาน ความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธ หรือ มีความสุข เศร้า หรือ สนุกสนาน รัก หรือเกลียด สมอง ส่วนลิมบิก จะทําให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น มีความฉลาดมากขึ้น และสามารถเรียนรู้โลกได้ กว้างขึ้น เป็นสมอง ส่วนที่สลับซับซ้อน มากขึ้น ทําให้คนเรา มีความสามารถใน การปรับตัว ปรับ พฤติกรรมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ถ้าหากมี สิ่งกระตุ้น ที่ไม่ดีเข้ามา สมอง ส่วนนี้จะ แปลข้อมูล ออกมาเป็น ความเครียด หรือไม่มีความสุข

สมองส่วนที่สามเรียกว่า นิวแมมมาเลียนเบรน (New Mammalian brain) หรือสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ คือสมองใหญ่ ทั้งหมด โดยเฉพาะบริเวณพื้นผิวของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ สติสัมปชัญญะ และรายละเอียดที่สลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่ กว่าสมองอีก 2 ส่วนถึง 5 เท่าด้วยกัน สมองส่วนนี้เป็นศูนย์รวมเกี่ยวกับ ความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ การคํานวณ ความรู้สึก เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรักความเสน่หา เป็นสมองส่วนที่ทำให้มนษุย์รู้จูกคิด หาหนทางเอาชนะธรรมชาติ หรือควบคุมสิ่งแวดล้อมในโลกนี้

โครงสร้างสมอง 3 ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของเรา ก็คือระบบประสาทสำคัญที่ได้วิวัฒนาการมาจากยุคดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่ง ที่ได้รับ มาจากบรรพบุรุษ และเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถประสบความสำเร็จในชีวิต อย่างไรก็ตาม ควรจำไว้ว่าสมองเรา ยังมีความสามารถ ที่ยังไม่ได้พัฒนา หรือยังมีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้อีกมาก ประสบการณ์ หรือการกระทำของเรารวมถึงความรู้สึก นึกคิด พฤติกรรม กิจกรรม ทั้งหลาย การหลับ การตื่น ความฝัน ล้วนขึ้นอยู่กับสมองทั้ง 3 ส่วนนี้ทั้งสิ้น ระบบสมอง 3 ส่วนนี้แสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติสามารถ สร้าง โครงสร้างใหม่ และโครงสร้างที่สลับซับซ้อนขึ้นบนพื้นฐานของ โครงสร้างเก่า ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเซลล์ง่าย ๆ ที่ได้ผสมผสานตัวเองเข้าไป ในสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ เป็นการเปลี่ยน หรือวิวัฒนาการจากสัตว์เซลล์เดียวเป็นสัตว์หลายเซลล์

เริ่มด้วย ระบบประสาทอาร์เบรน หรือเรปทิเลียนเบรน ที่มีหน้าที่ขั้นพื้นฐานที่ง่ายที่สุดเป็นการทำงานในเด็กเล็ก ๆ ซึ่งค่อย ๆ มีพัฒนาการตามมา สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ประสาทสัมผัส และสั่งงานให้กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหว นอกจากทำหน้าที่พื้นฐานง่าย ๆ แล้ว สมองส่วนนี้ยังรับ และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การเรียนรู้จากสมอง หรือระบบประสาทส่วนถัดไป และทำให้เกิดเป็นระบบอัตโนมัติขึ้น ทำให้เรามีปฏิกิริยาอย่างง่าย ๆ ปราศจากอารมณ์ ปราศจากเหตุผล เช่น สัญชาตญาณ การมีชีวิตอยู่เพื่อความอยู่รอด ความต้องการอาหาร ที่พักอาศัย หรือการมีเพศสัมพันธ์ในรูปแบบง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนของสัตว์บางประเภท

สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยเก่า หรือ สมองลิมบิกเบรน (Limbic brain) ระบบประสาท ส่วนถัดไปที่เรียกว่า ลิมบิกเบรน หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน หรือสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยเก่า สมองส่วนนี้จะอยู่ที่เทมโพราลโลบ หรือเป็นส่วนข้าง ๆ ของสมองใหญ่ ทั้งสองข้าง สมองส่วนนี้ได้รับการเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า อีโมชั่นแนลเบรน (Emotional brain) หรือสมองที่เกี่ยวกับ อารมณ์ หรือ ลิมบิก เบรน ซึ่ง Limb มาจากคำว่า "โอบรอบ" คือ สมองส่วนนี้จะโอบรอบสมองส่วนที่เป็นอาร์เบรน หรือเรปทิเลียนเบรน สมองส่วนนี้จะทำให้ เราปรับตัวได้ดีขึ้น มีความฉลาดมากขึ้น และสามารถเรียนรู้โลกได้กว้างขึ้น ดังนั้นการที่มีสมองส่วนนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจาก อาร์เบรน หรือ สมองส่วนที่เรียบง่าย มาเป็นสมองส่วนที่สลับซับซ้อนมากขึ้น มีความสามารถในการปรับตัว ปรับพฤติกรรมให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น สมองส่วนนี้จะ เกี่ยวข้องกับความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธ หรือมีความสุข เศร้า หรือสนุกสนาน รัก หรือเกลียด ถ้าหากว่า มีสิ่งกระตุ้น ที่ไม่ดีเข้ามา สมองส่วนนี้ก็แปลข้อมูลออกมา เป็นความเครียด หรือไม่มีความสุข หรือถ้าหากว่าเคยมีประสบการณ์ ที่เจ็บปวดมาก่อน ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ชอบ เป็นต้น สมองส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องกับ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เกี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์ ระหว่างแม่กับลูก เด็กกับครอบครัว เด็กกับสังคม หรือระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย เกี่ยวข้องกับความฝัน วิสัยทัศน์ และความเพ้อฝัน

ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสมองใหม่ที่เรียกว่า สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ หรือ นีโอคอร์เท็กซ์ (Neocortex) ด้วย สมองส่วนที่ 3 หรือ สมองส่วนที่ทำหน้าที่สูงสุดในบรรดาสมองทั้งหมด เรียกว่า นีโอคอร์เท็กซ์ แปลว่า สมองส่วนใหม่ (New brain) จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าสมองอีก 2 ส่วนถึง 5 เท่าด้วยกัน สมองส่วนนี้จะเป็นที่รวมเกี่ยวกับ ความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ การคำนวณ ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรักความเสน่หา สมองส่วนนี้จะทำให้เรารู้จักหาหนทางที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และการมีอิทธิพลควบคุม คนอื่นด้วย นอกจากนั้นสมองส่วนนี้จะทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความคิดทางด้านปรัชญา ศาสนา เป็นส่วนที่จะ ทำให้เห็นหนทางไปถึง จุดมุ่งหมายของมนุษยชน แต่อย่างไรก็ตาม สมองส่วนนี้ไม่สามารถที่จะทำงานได้ โดยปราศจาก สมองอีก 2 ส่วน คือ อาร์เบรน กับ ลิมบิกเบรน มาช่วยด้วย โดยสมองส่วนใหม่ หรือนีโอคอร์เท็กซ์ แบ่งแยกออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านขวา และด้านซ้าย แต่ละด้านจะมีหน้าที่เฉพาะเจาะจง มีเส้นใยประสาทที่เตรียมพร้อมสำหรับการเรียนรู้ และรับรู้ข้อมูลจากสมองอีก 2 ส่วน ในขณะที่มีการตอบสนองจากระบบอาร์เบรน ก็จะมี การป้อนข้อมูลนี้กลับเข้าไปในสมองส่วนใหม่ หรือนีโอคอร์เท็กซ์ด้วย ซึ่งทำให้เกิดการสร้างระบบประสาทขนานไป กับ ระบบประสาท ใน อาร์เบรน ถ้าหากไม่มี สมองนีโอคอร์เท็กซ์ การตอบสนองก็จะเป็นไป โดยอัตโนมัติ แต่เนื่องจากมีการควบคุมจากสมองส่วนใหม่ หรือ นีโอคอร์เท็กซ์ ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีวัตถุประสงค์มากขึ้น มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น

ถึงแม้ว่าสมอง 3 ส่วนจะทำงานประสานกัน แต่ในบางขณะเราสามารถที่จะเลือกใช้สมองส่วนใดส่วนหนึ่งมากกว่าส่วนอื่นได้ เช่น ในเรื่อง เพศสัมพันธ์ ระบบประสาทอาร์เบรนที่เกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์จะทำงาน แต่จะเห็นได้ว่ามนุษย์เรามีรูปแบบการมี เพศสัมพันธ์ ที่ไม่เหมือน สัตว์ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติอย่างง่าย ๆ เพศสัมพันธ์ของมนุษย์มีรูปแบบที่ซับซ้อนกว่า มีเรื่อง ของอารมณ์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น เรื่อง รัก ๆ ใคร่ ๆ แบบโรมิโอกับจูเลียต เป็นต้น ตรงนี้ต้องใช้สมองนีโอคอร์เท็กซ์เข้าไปเปลี่ยนรูปแบบ จากการสืบพันธุ์ง่าย ๆ แบบสัตว์ให้มี รูปแบบ ที่สลับซับซ้อนมากขึ้น
อาร์เบรนยังเกี่ยวข้อง กับเรื่อง ของการใช้ภาษาด้วย พบว่า ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ บริเวณปากอย่างเฉพาะเจาะจง ในขณะที่ได้ยินเสียงของแม่พูด ต้องใช้สมองส่วนอาร์เบรน ทำงานสั่งให้กล้ามเนื้อตรงนั้นเคลื่อนไหว และเนื่องจากสมองส่วนอาร์เบรน อยู่บริเวณที่เรียกว่า เบรนสเต็ม (Brain Stem) หรือก้านสมอง ซึ่งจะเป็นประตูปิดเปิดการรับรู้กับโลกภายนอก ดังนั้นถ้าหาก ระบบสมองส่วนนี้เสียไป เราจะไม่สามารถรับรู้โลกภายนอกได้เลย
สมองส่วนอาร์เบรนยังมีหน้าที่เกี่ยวกับ การหลับการตื่น ทำให้เรารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าสมองอาร์เบรนสามารถที่จะตอบสนอง โดยตรงกับประสาทสัมผัสที่รับเข้ามา แต่ปฏิกิริยาส่วนใหญ่แล้วจะต้องผ่านสมองส่วนอีโมชั่นแนล หรือลิมบิกเบรน เพื่อที่จะจัดเก็บความจำ และทำให้เกิดการเรียนรู้ สมองส่วนอีโมชั่นแนล หรือ ลิมบิกเบรนยังมีหน้าที่เกี่ยวกับ ภาษาอีกด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นก่อนที่เด็กทารกจะพูดได้ ด้วยซ้ำ หากไม่มีสมองส่วนนี้เราจะไม่สามารถเขียน หรือพูด หรือสื่อสารกับใครได้ เช่น เดียวกันกับ ถ้าเราไม่มีสมองส่วนใหม่ หรือสมองนีโอคอร์เท็กซ์ เราก็จะไม่สามารถคิดได้เลย แต่เดิมเราคิดว่าสมอง 2 ส่วนที่เก่าแก่ คือ อาร์เบรน กับ ลิมบิกเบรน ไม่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่หลงเหลือมาจากวิวัฒนาการ งานส่วนใหญ่ ของสมอง จะเกิดขึ้นที่สมองส่วนใหม่ นีโอคอร์เท็กซ์ แต่จากการวิจัยใหม่ ๆ ค้นพบสิ่งตรงกันข้ามว่า ประสบการณ์ในชีวิต ของเรามาจาก การทำงานของสมอง 2 ส่วนนี้ด้วย

สมองของคนเราทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าหลับ หรือตื่น แต่การทำงานในแต่ละส่วนจะแตกต่างกัน การทำงานของสมอง ขึ้นอยู่กับ เซลล์ประสาทที่มีอยู่เป็นจำนวนแสนล้านเซลล์ เซลล์ประสาทเหล่านี้ จะติดต่อพูดคุยกันโดยใช้ระบบสารเคมี และประจุไฟฟ้า เซลล์ประสาทตัวที่หนึ่งอาจจะยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาทตัวที่สอง ในขณะที่เซลล์ประสาทตัวที่สาม กลับกระตุ้นการทำงาน ของเซลล์ประสาทตัวที่สอง ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้น หรือการยับยั้ง จะทำให้เซลล์ประสาทส่งกระแสไฟฟ้าออกมา ผลลัพท์อาจจะเป็น การกระตุ้น หรือยับยั้งก็ได้

จากการวิจัยพบว่า การทำงานของสมองจะทำงานกันเป็นกลุ่ม คือ เซลล์ประสาทจะมารวมกันเป็นกลุ่มแล้วทำหน้าที่หนึ่งอย่าง เซลล์ประสาทเหล่านี้จะติดต่อถึงกัน ทำให้เกิดการทำงาน มีกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา ถ้าหากการทำงาน และกระแสไฟฟ้านี้หยุดไป เซลล์ประสาทก็จะตาย และจุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นใยประสาทของเซลล์ประสาท แต่ละเซลล์ที่ติดต่อถึงกันที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และพลังงานกันก็จะตายไปด้วย สำหรับสมองส่วนที่เกี่ยวกับ ความคิด จะมีการจัดเรียงตัวของกลุ่มเซลล์ประสาทเป็นล้านล้านกลุ่มทีเดียว ซึ่งจะติดต่อถึงกันด้วยเส้นใยประสาท โดยเซลล์ประสาท 1 ตัวจะมีเส้นใยประสาทติดต่อกับเซลล์ประสาทอื่น หรือในกลุ่มอื่นเป็นหมื่น ๆ เส้นใยทีเดียว เนื่องจากมีการติดต่อ กลับไปกลับมาระหว่างเซลล์ประสาท และระหว่างกลุ่มเซลล์ประสาท ทำให้ไม่ว่าจะมีปฏิบัติการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นก็สามารถมีผลต่อสมองทั้งสมองได้ กลไกการทำงานของสมองนี้เป็นไปตลอดเวลา เซลล์ประสาทแต่ละตัว จะทั้งรับข้อมูลเข้า และส่งข้อมูลออกในเวลาเดียวกัน ผลก็คือผลลัพท์จากการทำงาน หรือการโต้ตอบ ของเซลล์ประสาท ทั้งกลุ่มนั้น เซลล์ประสาทเปรียบเสมือน ทรานซิสเตอร์ หรือ หลอดวิทยุ ที่สามารถแสดงผลการทำงานที่เกิดขึ้นตลอดเวลา แม้ในยามหลับ หรือหมดสติ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง จะมีลักษณะเป็นคลื่นไฟฟ้าซึ่งมี ความถี่ที่มีรูปแบบ เฉพาะอยู่ในเซลล์ประสาท และเมื่อมีข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไปในสมอง กระแสไฟฟ้าก็จะมีคลื่นความถี่ที่มีรูปแบบเฉพาะ หรือ รูปแบบใหม่ที่สมองยังไม่เคยได้รับมาก่อน สมองก็จะหาเซลล์ประสาท กลุ่มใหม่ และสร้างเส้นใยประสาท หรือการติดต่อใหม่ เพื่อที่จะจัดการเก็บข้อมูลใหม่ ๆ ไว้ในสมอง

     
 

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกเข้าเรียน

ครั้งที่1
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555
       วันนี้เป็นชั่วโมงแรกของการเรียน วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์พูดเกี่ยวกับข้อตกลงต่างๆในการเรียนในการทำงานส่ง การเรียนในห้องเรียน การแต่งกายที่เหมาะสม แการสร้างบล็อก อาจารย์จะตรวจบล็อกทุกๆวันอาทิตย์ เพื่อที่นักศึกษาจะได้มีเวลาบันทึกลง จากนั้นอาจารย์ให้นักษาเซ็นชื่อแล้วบอกเลขที่นั่งในรายวิชานี้จากนั้นอาจารย์ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 2 ข้อ
1.ให้นักศึกษาอธิบายคำว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความเข้าใจของนักศึกษามา2ประโยคสั้นๆ
-คือการนับจำนวนตัวเลขการเรียงลำดับจากน้อยไปมากหรือจากมากไปหาน้อย และการบวกลบเลขหลักเดียวหรือสองหลัก
-คือการวัดปริมาตรต่างๆเช่น หนัก-เบา สูง-เตี้ย สั้น-ยาว มาก-น้อย
2.สิ่งที่นักศึกษาคาดว่าจะได้รับในรายวิชานี้
-ได้รู้เทคนิกการสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กๆ ได้ความรู้ความเข้าใจเลือกเนื้อหาที่จะสอนให้เข้ากับเด็กได้

        จากนั้นอาจารย์พูดเกี่ยวกับเนื้อหาให้ที่สอนโดยให้ความหมายของการเรียนรู้ และการรับรู้
-วุฒิภาวะ=พัฒนาการณ์+ประสบการณ์
-พัฒนาการณ์คือการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เช่น นอน คลาน คืบ นั่ง ยืน เดิน วิ่ง เป็นต้น
-การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

เพิ่มเติม

การเรียนรู้ความหมายและขอบข่ายของการเรียนรู้

การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต คำจำกัดความที่นักจิตวิทยา มักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอ แต่ยังไม่ถึงกับเป็นที่ ยอมรับ กันอย่างสากล คือ คำจำกัดความของ คิมเบิล (Gregory A Kimble)
คิมเบิล กล่าวว่า "การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพแห่งพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกหรือการปฏิบัติที่ได้รับ การเสริมแรง (Learning as a relatively permanent change in behavioral potentiality that occurs as a result of reinforced practice) "
จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นแยกกล่าวเป็นประเด็นสำคัญได้ ๕ ประการ คือ
๑ การที่กำหนดว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็แสดงว่าผลที่เกิดจากการเรียนรู้ จะต้องอยู่ใน รูปของพฤติกรรม ที่สังเกตได้ หลังจากเกิดการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถทำสิ่งหรือเรื่องที่ไม่เคยทำมาก่อนการเรียนรู้นั้น
๒ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างถาวร นั่นก็คือ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น จะไม่เป็นพฤติกรรมในช่วงสั้น หรือเพียงชั่วครู่ และในขณะเดียวกันก็ ไม่ใช่พฤติกรรมที่คงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
๓ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใด แต่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (Potential) ที่จะกระทำ สิ่งต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลง ศักยภาพนี้อาจแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งอาจจะยังไม่ได้แสดงออกมา เป็นพฤติกรรมอย่าง ทันทีทันใดก็ได้
๔ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพในตัวผู้เรียนนั้นจะเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการ ฝึกเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือศักยภาพอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นไม่ถือเป็นการเรียนรู้
๕ ประสบการณ์หรือการฝึกต้องเป็นการฝึกหรือปฏิบัติที่ได้รับการเสริมแรง (Reinforced practice) หมายความว่า เพียงแต่ผู้เรียนได้ รับรางวัลหลังจากที่ตอบสนอง ก็จะให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในแง่นี้คำว่า "รางวัล" กับ "ตัวเสริมแรง" (Reinforce) จะให้ความหมายเดียวกัน ต่างก็คือหมายถึงอะไรบางอย่างที่อินทรีย์ (บุคคล) ต้องการ

การรับรู้ ความหมายของการรับรู้/การสัมผัสรู้ (Definition of perception)

     การรับรู้ (perception) สามารถอธิบายได้อย่างสั้นๆ คือ วิธีการที่บุคคลมองโลกที่อยู่รอบๆ ตังของบุคคล ฉะนั้นบุคคล 2 คนอาจมีความคิดต่อตัวกระตุ้นอย่างเดียวกันภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน แต่บุคคลทั้ง 2 อาจมีวิธีการยอมรับถึงตัวกระตุ้น (recognize) การเลือกสรร (select) การประมวล (organize) และการตีความ (interpret) เกี่ยวกับตัวกระตุ้นดังกล่าวไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ยังขึ้นกับพื้นฐานของกระบวนการของบุคคลแต่ละคนเกี่ยวกับความต้องการ ค่านิยม การคาดหวัง และปัจจัยอื่นๆ ดังนั้น การรับรู้สามารถให้คำจำกัดความได้ดังนี้
การรับรู้ (perception) หมายถึง “กระบวนการที่บุคคลแต่ละคนมีการเลือก การประมวลและการตีความเกี่ยวกับตัวกระตุ้นออกมาให้ความหมายและได้ภาพของโลก ที่มีเนื้อหา” (Schiffman and Kanuk .19991:146)
นอกจากนี้ การรับรู้ยังสามารถอธิบายได้อย่างง่ายๆ คือหมายถึง “กระบวนการการตีความที่ผ่านประสาทสัมผัสใดๆ โดยตรง” ซึ่งจากความหมายนี้คำที่จะสื่อความหมายเดียวกับการรับรู้ การสัมผัสรู้ อันเป็นการรู้ที่เกิดจากการรับความรู้สึกเข้ามาทางประสาทสัมผัสเกิดเป็นความเข้าใจหรือความรู้สึกภายในของบุคคล แต่อย่างไรก็ตามจะขอใช้คำว่าการรับรู้ตลอดทั้งบทต่อไป ดังนั้นกล่าวอีกอย่างคือ การรับรู้ หมายถึง “การตีความหมายใจจิตใจของบุคคลที่จะทำให้เกิดการได้รู้ได้เข้าใจ”
ดังนั้นการรับรู้ทุกครั้งที่เกิดขึ้นจะต้องมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เพื่อทำการตีความบางสิ่งบางอย่าง หรือเหตุการณ์ หรือความสัมพันธ์ในฐานะเป็นสิ่งที่สัมผัสรู้อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องในฐานะ เป็นสิ่งที่สัมผัสรู้ โดยการผ่านประสาทสัมผัส มนุษย์ทุกคนรู้ทุกสิ่งในโลกโดยผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัส เมื่อผู้บริโภคบอกว่า ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ให้ข้อเสนอที่ดีกว่าในการซื้อขาย นั่งแสดงว่าบุคคลได้บอกถึงบางสิ่งบางอย่างที่บุคคลได้สัมผัสรู้มาจากประสบกา รณที่ผ่านเข้ามาทางการสัมผัส วิธีการที่ผู้บริโภคคิดและกระทำจะเป็นผลมาจากการรับรู้ถึงสิ่งที่เปลี่ยน แปลงไปในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ วิธีการนี้ผู้บริโภคมีการจัดการกับข้อมูลใหม่ๆ ที่รับเข้ามาโดยการประมวลและตีความถึงสิ่งกระตุ้นที่เข้ามากระทบประสาท สัมผัสของผู้บริโภค ซึ่งก็คือ การรับรู้นั่นเอง
จากประเด็นนี้จะเห็นได้ว่า ทัศนคติ ความต้องการและแรงจูงใจต่างเป็นเงื่อนไขที่จะเกิดการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ถึงความต้องการและแรงจูงใจทำให้มีการเปลี่ยนทัศนคติได้ และทัศนคติก็เป็นเงื่อนไขที่มีผลต่อวิธีการรับรู้ของผู้บริโภค นอกจากนี้ กลยุทธ์การซื้อของผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบที่มาจากการรับรู้ด้วย โดยบุคคลจะมีการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ วิธีการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ และนำไปสู่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะได้ การที่บุคคลมีการรับรู้ถึงการขาดในผลิตภัณฑ์อาจนำไปสู่การกระทำทางการตลาด ได้
ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจความหมายของการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงสิ่งต่อไปนี้คือ (1) การรับรู้และความรู้สึกจากการสัมผัสเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกัน (2) การตอบสนองของผู้บริโภคมีรากฐานมาจากการรับรู้ (3) การรับรู้จะเกี่ยวข้องกับความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค และ (4) การรับรู้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงได้