วันที่ 29 พฤศจิกายน 2555
-การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เด็กเรียนรู้อะไรจากขอบข่ายคณิตศาสตร์
-ให้นักศึกษาจับคู่จากการทำงานอาทิตย์แล้ว แล้วให้ออกไปนำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของแต่ละกลุ่มเรียงไปเรื่อยๆทุกกลุ่ม
กลุ่ม1 การนับ นับจำนวนสัตว์ในสวนสัตว์ตามประเภท การนับได้ในเรื่องของตัวเลขจำนวนจำนวนได้ทักษะทางการนับได้จำนวนแล้วเอามาเขียนได้ตัวเลข เอาไว้แทนค่าจำนวน
กลุ่ม2 ตัวเลข ใช่จำกัดจำนวนแล้วเอามาเขียนแทนค่าหรือจัดเรียงลำดับ
กลุ่ม3 การจับคู่ การจับคู่สัตว์บกสัตว์น้ำได้ทั้งทักษะทางคณิตและวิทยาศาสตร์ การจับคู่ตัวเลขกับตัวเลขโดยการคัดออกที่ละคู่ๆ จับคู่รูปทรง จับคู่ตัวเลขกับจำนวน และจับคู่จับนวนกับจำนวน
กลุ่ม4 การจัดประเภท นำสัตว์บกและสัตว์น้ำมารวมกัน แต่ต้องมีเกรณ์ในการจัดว่าสัตว์บกเป็นยังไงใช่หรือไม่อย่างไร
กลุ่ม5 การเปรียบเทียบ ให้เด็กมาดูว่าสัตว์บกกับไม่ใช่สัตว์บกอันไหนมีมากกว่ากัน
กลุ่ม6 การจัดลำดับ จัดลำดับสัตว์ที่มจำนวนน้อยสุดไปหาสัตว์ที่มีจำนวนมากสุด โดยใช้ การวัดแล้วเปรียบเทียบ แล้วจัดลำดับแล้วเขียนตัวเลขกำกับ
กลุ่ม7 รูปทรงและเนื้อที่ หาพื้นที่ของกรงสัตว์ ลานช้าง เป็นรูปทรงอะไร
กลุ่ม8 การวัด วัดปริมาณอาหาร หรือ ที่อยู่ของสัตว์
กลุ่ม9 เชต เช่นการจัดกลุ่มเซตของการเลี้ยงนกว่ามีอะไรบ้าง กรง หัวอาหาร น้ำ
กลุ่ม10 เศษส่วน สอนเรื่องจำนวนเต็ม สองส่วนเท่าๆกันเรียกว่าครึ่ง
กลุ่ม11 การทำตามแบบ สอนในเรื่องเซต ให้เด็กจัดเซตแล้วให้เด็กทำตาม
กลุ่ม12 การอนุรักษ์ให้คงที่ การสอนให้เด็กสัมผัสได้ สอนในเรื่องกึ่งนามธรรม และนามธรรม
เพิ่มเติม
การนำทฤษฎีของเปียเจต์ไปใช้ในการจัดประสบการณ์
1.
การจัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตร ทฤษฎีของเปียเจต์สามารถนำมาใช้ในการ
จัดลำดับเนื้อหาในหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัยได้โดยตรง
โดยหลักสูตรสำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation)
กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensory
- Motor) เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
2. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมที่ควรจัดให้กับเด็กปฐมวัยควรเน้นให้เด็ก
ได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด
กิจกรรมที่สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation)
หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง
ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่
ๆ รอบตัว
3.
การเลือกวัสดุอุปกรณ์ในทัศนะของเปียเจต์ การที่เด็กได้มีโอกาสสัมผัส
ต้องจับต้อง
สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ดิน ทราย น้ำ หิน ฯลฯ
เป็นสื่อเบื้องต้นที่จะช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสรับรู้ และการเคลื่อนไหว
เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพความเป็นจริงของวัตถุ เช่น เรื่องน้ำหนัก เนื้อสาร
ซึ่งจะนำไปสู่การเชื่อมโยงกับโครงสร้างอื่น ๆ
ดังนั้นสื่อที่ใช้ประกอบการเรียนในวัยนี้จึงควรให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ (Manipulation)
ทั้งนี้เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุดขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 .
87 - 88) ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา
เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
1.
การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
1.1 การจับคู่ 1 : 1
1.2 การจับคู่สิ่งของ
1.3 การรวมกลุ่ม
1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2.
จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3.
ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1
= หนึ่ง 2 = สอง
4.
ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ
(Union / Operation sets)
5.
สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6.
ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่
ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดง
ถึงจำนวนปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง – ต่ำ
7.
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทาง
คณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ
รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9.
รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น
รูปสิ่งของที่มี
มิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว
10. สถิติและกราฟ ได้แก่
การศึกษาจากการบันทึก
ทำแผนภูมิ การเปรียบเทียบต่าง ๆ
นิตยาประพฤติกิจ (2541 : 17 - 19) กล่าวว่า
ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะดังต่อไปนี้
1.
การนับ (Counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก
เป็นการ
นับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1
- 10 หรือมากกว่านั้น
2.
ตัวเลข (Number) เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
ให้
เด็กเล่นของเล่นเกี่ยวกับตัวเลข
ให้เด็กได้นับและคิดเองโดยครูเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
อาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
3.
การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง
ๆ และจับคู่
สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน
4.
การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ
สิ่งต่าง ๆ ว่ามีความแตกต่างหรือเหมือนกันในบางเรื่อง
และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5.
การเปรียบเทียบ (Comparing) เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์
ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า
สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น
จัดบล็อก 5 แท่ง ที่มีความยาวไม่เท่ากัน
ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือ จากสั้นไปยาว
7.
รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและ
เนื้อที่จากการเล่มตามปกติแล้ว
ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม
สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความลึกตื้น กว้างและแคบ
8.
การวัด (Measurement) มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง
ให้รู้จักความยาวและระยะ
รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณการอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด
ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและการจัดลำดับมาก่อน
9.
เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ
ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับ
สภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้า ถือว่าเป็นหนึ่งเซต
หรือห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 3
เซต คือ นักเรียน ครูประจำชั้น ครูช่วยสอน เป็นต้น
10.
เศษส่วน (Fraction) ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่
1
แต่ครูปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวม (The
Whole Object) ให้เด็กเห็นก่อน
มีการลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ
11.
การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบ
หรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12.
การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) ช่วงวัย 5 ขวบ ขึ้นไป ครู
อาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
จุดมุ่งหมายของการสอนเรื่องนี้ก็คือ
ให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น