ยินดีตอนรับ

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่16
วันที่ 14 กุมภาพัน 2556
-วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปที่ลานแดง เพื่อไปฟังเรื่องการส่งเสริมการใช่ขวดน้ำประจำตัวและร่วมสนุกกับกิจกรรมต่างๆ
-วันนี้อาจารย์ให้นักษากลุ่มที่เหลือออกมาสาธิตการสอน
 กลุ่มแรกเรื่องของผม วันจันทร์ลักษณะของผม
                            วันอังคารหน้าที่ของผม
                            วันพุธประโยชน์และของควรระวัง
                            วันพฤหัสบดีวิธีดูแลรักษา
                            วันศุกร์อาชีพ
-กลุ่มที่สอง เรื่องสัตว์ทะเล
-อาจารย์ให้ดูตารางนำเสนอข้อมูล




 


วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่15
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556

      กิจกรรมการเรียน
             วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่ 2 ออกไปสาธิต การสอนหน้าห้องเรียนในการสอนเพื่อนสาธิตการสอนในหน่วยของต้นไม้ อาจารย์ได้บอกว่าในการสอนหน่อยต่างๆเราสามารถล้อเลียนการสอนของสัปดาห์ที่แล้วได้โดยในการสอนต้องใช้คำถามเปิดประเด็น เพื่อที่จะเชื่อมโยงเข้าสู้เรื่องนั้นๆ 
       หน่วย ต้นไม้
       วันจันทร์สอนเรื่องประเภทของต้นไม้
       วันอังคารสอนเรื่องลักษณะของต้นไม้ 
       วันพุธสอนเรื่องส่วนประกอบของต้นไม้
       วันพฤหัสบดีสอนเรื่องประโยชน์ของต้นไม้
       วันศุกร์สอนเรื่องข้อควรระวัง
      

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่14
วันที่ 31 มกราคม 2556

 กิจกรรมการเรียน
        อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนตามหน่วยที่ตนเองได้รับผิดชอบ
เริ่มจากกลุ่มแรกคือหน่วยดิน ในการสอนทักษะเนื้อต่างๆยังไม่สมบรูณ์มากนัก อาจารย์ได้ช่วยแนะนำเทคนิควิธีการสอนว่าต้องทำอย่างไรเพื่อที่นักศึกษาจะนำไปใช้ได้ถูกต้องและถูกวิธี ในการสอนของแต่ละหน่วยต้องมีการบูรณาการมาตรฐานคณิตศาสตร์เข้าไปอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพื่อที่กลุ่มต่อไปเลาออกมานำเสนอจะได้ถูกต้อง

หน่วยดิน
  -วันจันทร์สอน ประเภทของดิน
  -วันอังคารสอน ลักษณะของดิน
  -วันพุธสอน ในเนื้อดินมีอะไรบ้าง
  -วันพฤหัสบดีสอน ประโยชน์ของดิน
  -วันศุกร์สอน ข้อควรระวังเกี่ยวกับดิน
 

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 13
วันที่ 24 มกราคม 2556
       กิจกรรมการเรียน
           -สาระสำคัญในหน่วยการเรียนรู้ที่ตัวเองสร้างขึ้น ให้แยกออกเป็น5หน่วยย่อยให้เป็น5วัน จันทร์ถึงศุกร์ หลังจากนั้นให้บูรณาการมาตรฐานคณิตศาสตร์เข้าไปในการสอนของแต่ละหน่วย
          - พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กเล็กควรใช่ของจริงแทนภาพ
                                             เด็กโตขึ้นมาหน่อยจะใช่ภาพและครูเขียนขึ้นบนกระดาน
                                             เด็กโตจะใช้ตัวเลขกำกับจำนวน
          -หลักในการเลือกหน่วยความรู้ให้กับเด็กสิ่งที่ควรคำนึง
               1.เรื่องใกล้ตัวเด็ก
               2.มีผลกับเด็ก
               3.เรื่องในชีวิตประจำวันเด็ก
          -ช่วงความสนใจของเด็ก 20-25 นาที
          -จังหวะที่เหมาะแกการเล่านิทานให้เด็กฟังคือประโยชน์ของเรื่องนั้นๆ
          

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่12
วันที่ 17 มกราคม 2556

กิจกรรมการเรียน วันนี้อาจารย์สอนในเรื่องการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ว่าเราต้องคำนึงถึงหลักการจัดประสบการณ์อยู่ 2 อย่างคือสาระสำคัญและประสบการณ์สำคัญ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กและมีประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก และที่สำคัญในการจัดประสบการณ์เด็กต้องได้สัมผัสได้ลงมือกระทำ เด็กต้องใช้ของจริงให้เห็น และในการนำเสนอข้อมูลให้เด็กเราต้องทำเป็นกราฟรูปภาพเพื่อที่เด็กจะได้เปรียบเทียบความแตกต่างและเด็กยังสามารถเข้าใจง่ายอีกด้วย



บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่11
วันที่ 13 มกราคม 2556
    
   กิจกรรมการเรียน   วันนี้อาจารย์สอนเรื่องการทำหน่วยการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิควิธีทำโดยใช้ผังความคิดหรือMind Mapping ในการแตกสาระการเรียนรู้ในแต่ละวันเพื่อที่เวลาเราทำจะได้แตกความคิดของเราและวิเคราะห์ไปด้วย แล้วอาจารย์สาธิตการทำผังความคิดให้นักศึกษาดู จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5คน ทำผังความคิดโดยมีหัวข้อให้นักศึกษาเลือกทำแต่ต้องจับฉลาก ในการทำผังความคิดจะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กหรือประสบการณ์เดิมที่เด็กเคยเจอ โดยกลุ่มดิฉันในหัวข้อหมอ จากนั้นอาจารย์ได้แนะนำการทำในส่วนที่ไม่สมบูรณ์ของเนื้อหาว่าต้องเพิ่มเติมอะไรบ้าง แล้วอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับมาตรฐานคณิตศาสตร์ซึ่งมีทั้งหมด 6 มาตร
      -มาตรฐานที่1จำนวนและการดำเนินการ
      -มาตรฐานที่2การวัด
      -มาตรฐานที่3เรขาคณิต
      -มาตรฐานที่4พีชคณิต
      -มาตรฐานที่5การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      -มาตรฐานที่6ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

พัฒนาการเด็กปฐมวัยแรกเกิดถึง6ปี
    0-2 ใช้ประสาทสัมผัส
    2-4 เริ่มพูดสื่อสาร
    4-6พูดยากขึ้น และมีเหตุผล(ความคิดเชื่อมโยง)

เพิ่มเติม

มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างและสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน ค 2.3 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)
และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหาได้

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1 อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันต่าง ๆ ได้
มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้
สาระที่ 6 : ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 6.2 มีความสามารถในการให้เหตุผล
มาตรฐาน ค 6.3 มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
มาตรฐาน ค 6.4 มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ
เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ได้
มาตรฐาน ค 6.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่10
วันที่ 3 มกราคม 2556

        วันนี้อาจารย์สอนการวัดหาพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือการวัด เช่น กระดาษลัง ขนาด 4*4  6*6  8*8   โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการวัดทีวี จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นำมาส่งนำสัปดาห์หน้าคือให้ทำจิ๊กซอมาส่ง

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 9
วันที่ 27 ธันวาคม 2555
#สอบกลางภาค หยุดปีใหม่2556

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 8
วันที่ 20 ธันวาคม

#สอบกลางภาค ปีการศึกษา2555 ภาคเรียนที่ 2

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 7
วันที่ 13 ธันวาคม 2555
-มาตรฐาน คือ สิ่งที่เป็นแนวทางในการทำงาน
-คู่มือ คือ แนวทางในการปฏิบัติ เป็นคำอธิบาย
-สสวท คือ สถาบันส่งเสริมการสอนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-คณิตศาตสร์ คือ เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์
สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดคณิตศาสตร์ปฐมวัย
      สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
                   แบบเขียน
                   พูดออกมา
                   หยิบตัวเลขมาวาง
                   สื่อเป็นจำนวนเส้น
      สาระที่ 2 การวัด
                  กาหาค่าโดยใช้เครื่องมือ 
                  -เครื่องมือไม่เป็นทางการ
                  -เครื่องมือกึ่งทางการ
                  -เครื่องมือทางการ
      สาระที่ 3 เรขาคณิต 
                  
      สาระที่ 4 พีชคณิต
                 - ทำตามแบบ 
                  -เซต
      สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

      สาระที่ 6 ทักษะและกระบานการทางคณิตศาสตร์
ในการจัดการเรียนการสอนควรดูพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญเพื่อที่จะดูว่าเด็กแต่ละช่วงวัยทำอะไรได้บ้าง
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาทำหน่วยการเรียนรู้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลใหญ่ๆให้เล็กลงอาจารย์ยกตัวอย่างหน่วย
  จากนั้นให้นักศึกษาจับกลุ่มกลุ่มละ3คน ทำหน่วยการเรียนรู้ซึ่งอาจารย์จะมีหัวข้อกำหนดให้ แล้วให้นักศึกษาจับฉลากทำหน่วยการเรียนรู้ตามที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหมายพร้อมกับตกแต่งให้สวยงาม










บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่6
วันที่ 6 ธันวาคม 2555
    ในการจัดกิจกรรมต้องเอาพัฒนาการมาเป็นตัววัด เพราะเด็กแต่ละคนแตกต่างกันแต่ละอายุทำอะไรได้บ้าง ถ้าทำกิจกรรมถ้าเราเอาของยากไปให้เด็กเด็กจะเบื่อเด็กท้อแท้ ถ้าเอาของง่ายเด็กก็เบื่อต้องเอาของที่สมบูรณ์ให้เด็กเล่น ในการจัดกิจกรรมควรจัดให้มันกว้างจัดให้ครอบคุม กิจกรรมต้องยืดยุ่น
      จากนั้นอาจารย์ให้เอากล่องที่นักศึกษาเตรียมขึ้นมา ที่ให้เอากล่องมาเพราะ กล่องเป็นวัสดุหาง่าย เป็นทรงเลขาคณิต ในขณะที่เด็กเล่นเด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  ให้นักศึกษานำกล่องของแต่ละคนมาต่อกันโดยอาจารย์กำหนดให้2กลุ่มแรก9ต่อเป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบโดยไม่ต้องว่าแผน และ2กลุ่มหลังให้ต่อโดยวางแผนกันในกลุ่ม พร้อมกับนักศึกษาตั้งชื้อผลงาน
       
                          ให้นักศึกษานำกล่องมาต่อตามใจชอบโดยไม่วางแผนกันในกลุ่ม

ผลงานของกลุ่ม ชื่อรถแทกเตอร์2013

จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มวิเคราะห์ผลงานของตัวเองว่าทำไมถึงต่อแบบต่างๆคิดว่าเป็นรูปอะไรโดยอาจารย์ถามทีละคน เรียงตามลำดับของแต่ละกลุ่ม
-งานที่กลุ่มดิฉันได้รับมอบหมายในสัปดาต่อไปคือ ห่อกล่องแบรด์นคละสี สีละด้าน ส่งในสัปดาห์ต่อไป

เพิ่มเติม
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการ อย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการ กระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม
  ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
  1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและ สามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
  2.  ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
    -- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก

    -- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับ สิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้ง เกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไป ก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
  4.  ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่ง ที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณา เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่  1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
    2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
    3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสอง ปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
    4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
    5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
    6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่ง อย่างทัดเทียมกัน 
 ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ 
 กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
  1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
  2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็น ระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
  3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล 
 การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน 
 เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
     
  • ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
    ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่ เป็นนามธรรม
     
  • หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
    --เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
    --เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
    --เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
    --เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
    --ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง
     
  • การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
    --ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
    --ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
    --ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
    --เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
    --ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
    --ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
    --ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
    --ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)
     
  • ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
    --มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
    --พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
    --ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น