ยินดีตอนรับ

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่15
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556

      กิจกรรมการเรียน
             วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่ 2 ออกไปสาธิต การสอนหน้าห้องเรียนในการสอนเพื่อนสาธิตการสอนในหน่วยของต้นไม้ อาจารย์ได้บอกว่าในการสอนหน่อยต่างๆเราสามารถล้อเลียนการสอนของสัปดาห์ที่แล้วได้โดยในการสอนต้องใช้คำถามเปิดประเด็น เพื่อที่จะเชื่อมโยงเข้าสู้เรื่องนั้นๆ 
       หน่วย ต้นไม้
       วันจันทร์สอนเรื่องประเภทของต้นไม้
       วันอังคารสอนเรื่องลักษณะของต้นไม้ 
       วันพุธสอนเรื่องส่วนประกอบของต้นไม้
       วันพฤหัสบดีสอนเรื่องประโยชน์ของต้นไม้
       วันศุกร์สอนเรื่องข้อควรระวัง
      

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่14
วันที่ 31 มกราคม 2556

 กิจกรรมการเรียน
        อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนตามหน่วยที่ตนเองได้รับผิดชอบ
เริ่มจากกลุ่มแรกคือหน่วยดิน ในการสอนทักษะเนื้อต่างๆยังไม่สมบรูณ์มากนัก อาจารย์ได้ช่วยแนะนำเทคนิควิธีการสอนว่าต้องทำอย่างไรเพื่อที่นักศึกษาจะนำไปใช้ได้ถูกต้องและถูกวิธี ในการสอนของแต่ละหน่วยต้องมีการบูรณาการมาตรฐานคณิตศาสตร์เข้าไปอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู เพื่อที่กลุ่มต่อไปเลาออกมานำเสนอจะได้ถูกต้อง

หน่วยดิน
  -วันจันทร์สอน ประเภทของดิน
  -วันอังคารสอน ลักษณะของดิน
  -วันพุธสอน ในเนื้อดินมีอะไรบ้าง
  -วันพฤหัสบดีสอน ประโยชน์ของดิน
  -วันศุกร์สอน ข้อควรระวังเกี่ยวกับดิน
 

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่ 13
วันที่ 24 มกราคม 2556
       กิจกรรมการเรียน
           -สาระสำคัญในหน่วยการเรียนรู้ที่ตัวเองสร้างขึ้น ให้แยกออกเป็น5หน่วยย่อยให้เป็น5วัน จันทร์ถึงศุกร์ หลังจากนั้นให้บูรณาการมาตรฐานคณิตศาสตร์เข้าไปในการสอนของแต่ละหน่วย
          - พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กเล็กควรใช่ของจริงแทนภาพ
                                             เด็กโตขึ้นมาหน่อยจะใช่ภาพและครูเขียนขึ้นบนกระดาน
                                             เด็กโตจะใช้ตัวเลขกำกับจำนวน
          -หลักในการเลือกหน่วยความรู้ให้กับเด็กสิ่งที่ควรคำนึง
               1.เรื่องใกล้ตัวเด็ก
               2.มีผลกับเด็ก
               3.เรื่องในชีวิตประจำวันเด็ก
          -ช่วงความสนใจของเด็ก 20-25 นาที
          -จังหวะที่เหมาะแกการเล่านิทานให้เด็กฟังคือประโยชน์ของเรื่องนั้นๆ
          

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่12
วันที่ 17 มกราคม 2556

กิจกรรมการเรียน วันนี้อาจารย์สอนในเรื่องการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ว่าเราต้องคำนึงถึงหลักการจัดประสบการณ์อยู่ 2 อย่างคือสาระสำคัญและประสบการณ์สำคัญ ซึ่งจะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กและมีประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก และที่สำคัญในการจัดประสบการณ์เด็กต้องได้สัมผัสได้ลงมือกระทำ เด็กต้องใช้ของจริงให้เห็น และในการนำเสนอข้อมูลให้เด็กเราต้องทำเป็นกราฟรูปภาพเพื่อที่เด็กจะได้เปรียบเทียบความแตกต่างและเด็กยังสามารถเข้าใจง่ายอีกด้วย



บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่11
วันที่ 13 มกราคม 2556
    
   กิจกรรมการเรียน   วันนี้อาจารย์สอนเรื่องการทำหน่วยการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิควิธีทำโดยใช้ผังความคิดหรือMind Mapping ในการแตกสาระการเรียนรู้ในแต่ละวันเพื่อที่เวลาเราทำจะได้แตกความคิดของเราและวิเคราะห์ไปด้วย แล้วอาจารย์สาธิตการทำผังความคิดให้นักศึกษาดู จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5คน ทำผังความคิดโดยมีหัวข้อให้นักศึกษาเลือกทำแต่ต้องจับฉลาก ในการทำผังความคิดจะต้องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กหรือประสบการณ์เดิมที่เด็กเคยเจอ โดยกลุ่มดิฉันในหัวข้อหมอ จากนั้นอาจารย์ได้แนะนำการทำในส่วนที่ไม่สมบูรณ์ของเนื้อหาว่าต้องเพิ่มเติมอะไรบ้าง แล้วอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับมาตรฐานคณิตศาสตร์ซึ่งมีทั้งหมด 6 มาตร
      -มาตรฐานที่1จำนวนและการดำเนินการ
      -มาตรฐานที่2การวัด
      -มาตรฐานที่3เรขาคณิต
      -มาตรฐานที่4พีชคณิต
      -มาตรฐานที่5การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
      -มาตรฐานที่6ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

พัฒนาการเด็กปฐมวัยแรกเกิดถึง6ปี
    0-2 ใช้ประสาทสัมผัส
    2-4 เริ่มพูดสื่อสาร
    4-6พูดยากขึ้น และมีเหตุผล(ความคิดเชื่อมโยง)

เพิ่มเติม

มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างและสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้
มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้
สาระที่ 2 : การวัด
มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
มาตรฐาน ค 2.2 วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
มาตรฐาน ค 2.3 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
สาระที่ 3 : เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)
และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหาได้

สาระที่ 4 : พีชคณิต
มาตรฐาน ค 4.1 อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันต่าง ๆ ได้
มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้
สาระที่ 6 : ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 6.2 มีความสามารถในการให้เหตุผล
มาตรฐาน ค 6.3 มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
มาตรฐาน ค 6.4 มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ
เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ได้
มาตรฐาน ค 6.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

บันทึกการเข้าเรียน

ครั้งที่10
วันที่ 3 มกราคม 2556

        วันนี้อาจารย์สอนการวัดหาพื้นที่ โดยใช้เครื่องมือการวัด เช่น กระดาษลัง ขนาด 4*4  6*6  8*8   โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างการวัดทีวี จากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นำมาส่งนำสัปดาห์หน้าคือให้ทำจิ๊กซอมาส่ง